บทความ Digital Skill
ไม่ว่าจะ ข่าวสาร บทสัมภาษณ์ และ Digital Skill บนสื่อ
มีให้คุณได้อ่านบทความดี ๆ มากมายแล้วที่นี่
โดย:
| Digital Skill
Microsoft ร่วมกับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ AiPEN Studio เปิดให้เรียนออนไลน์พัฒนาทักษะดิจิทัลฟรี! บนแพลตฟอร์ม Digital Skill
Microsoft ยกระดับทักษะดิจิทัลเพื่อคนไทย ด้วยความร่วมมือกับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ AiPEN Studio สนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยการเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี ร่วม 30 คอร์สเรียน พร้อมเนื้อหาที่อัดแน่นหลากหลายที่ช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถพัฒนาทักษะเฉพาะทางผ่านการเรียนออนไลน์ได้ อาทิเช่น ทักษะด้านสายข้อมูล, Data Science, Power BI หรือ ด้าน AI เป็นต้น พร้อมทั้งมีการรับรองด้วยมาตรฐานต่าง ๆ (Certificate) เมื่อเรียนคอร์สเรียนนั้น ๆ เสร็จสิ้น ผ่านแพลตฟอร์ม Digital Skillวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2562 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ร่วมด้วยสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย แถลงข่าวเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Digital Skill เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนากำลังคนและบุคลากรดิจิทัล และกระตุ้นความสนใจทักษะดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคใหม่ และเพื่อให้บริการความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะด้านที่มีความต้องการสูงแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยมีการดำเนินงานและให้บริการแบบ Online ตั้งแต่ทักษะเบื้องต้น (Fundamental) จนถึงระดับมืออาชีพ (Professional Certification) และจะพัฒนาให้ Digital Skill เป็นคอมมูนิตี้สำหรับแรงงานด้านดิจิทัล (Digital Workforce) ที่สามารถพัฒนาทักษะดิจิทัล ส่วนความร่วมมือที่ชัดเจนคือ จะร่วมกับ Microsoft เพื่อนำเนื้อหาต่าง ๆ ที่ Microsoft สอนไว้มาแปลเป็นภาษาไทย เพื่อลดกำแพงทางภาษาสำหรับคนไทย รวมถึงจะมีการออกประกาศนียบัตร (Certificate) แล้ว และจะมีความร่วมมือกับพันธมิตรในการพัฒนาหลักสูตรอื่นต่อไป“ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ดิจิทัลสกิล เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในยุคนี้ และเป็นปัญหาที่ทุกองค์กรต้องเผชิญการขาดแคลน ในไทยมีคนไอที 340,000 คน การรอเรียนจบคงไม่ทัน ดังนั้น วิชั่นของไมโครซอฟท์ในปี 2020 คือ ทำอย่างไรให้คนที่เหลือมีดิจิทัลสกิล”ด้วยความร่วมมือระหว่าง Microsoft กับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ร่วมด้วยบริษัท AiPEN Studio ได้สนับสนุนเนื้อหาต่าง ๆ ที่ Microsoft สอนไว้มาแปลเป็นภาษาไทย สามารถเรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Digital Skill เพื่อลดกำแพงทางภาษาสำหรับผู้ใช้ สนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยการเปิดคอร์สเรียนออนไลน์พร้อมเนื้อหาที่อัดแน่นหลากหลายที่ช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถพัฒนาทักษะเฉพาะทางผ่านการเรียนออนไลน์ได้ อาทิเช่น ทักษะด้านสายข้อมูล, Data Science, Power BI หรือ ด้าน AI เป็นต้น พร้อมทั้งมีการรับรองด้วยมาตรฐานต่าง ๆ (Certificate) เมื่อเรียนคอร์สเรียนนั้น ๆ เสร็จสิ้นคอร์สเรียนออนไลน์พัฒนาทักษะดิจิทัลของ Microsoft บนแพลตฟอร์ม Digital Skill ปัจจุบันมีมากมายร่วม 30 คอร์สเรียน อาทิเช่น คอร์สเรียนออนไลน์เกี่ยวกับ Data ขั้นพื้นฐาน สำหรับทุกคน หรือคอร์สเรียนเกี่ยวกับ Data Science เรียนจบสามารถสอบรับ Certificate DP-100 สำหรับสาย Data Science และ DP-900 สำหรับสาย Data ขั้นพื้นฐาน จาก Microsoft ได้ รายละเอียดดังนี้สาย Data ScienceDesigning and Implementing a Data Science Solution on Azure จำนวน 3 คอร์สCreate machine learning models : https://go.aipen.io/az-learn-18-2021Create no-code predictive models with Azure Machine Learning : https://go.aipen.io/az-learn-19-2021Build AI solutions with Azure Machine Learning : https://go.aipen.io/az-learn-20-2021สาย Data ขั้นพื้นฐานMicrosoft Azure Data Fundamentals จำนวน 4 คอร์สExplore core data concepts : https://go.aipen.io/az-learn-21-2021Explore relational data in Azure : https://go.aipen.io/az-learn-22-2021Explore non-relational data in Azure : https://go.aipen.io/az-learn-23-2021Explore modern data warehouse analytics in Azure : https://go.aipen.io/az-learn-24-2021โดยยังมีคอร์สเรียนออนไลน์คอร์สอื่นอีกมากมาย อาทิเช่นคอร์สเรียน Azure fundamentals, Power BI, AI เป็นต้น สามารถเข้าไปเรียนออนไลน์หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.digitalskill.org หรือติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเพิ่มทักษะ หรือยกระดับความรู้เรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/digitalskill.org
โดย: Digital Skill
| Digital Skill
เปิดตัวโครงการ สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย x ทนายแมน โครงการที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านกฏหมายต่างๆ ให้กับคน IT
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้จัดงาน Code Mania 1010 ขึ้น ณ True Digital Park ถนนสุขุมวิท โดยในงานได้มีการเปิดตัวโปรเจกต์ใหม่ชื่อว่า "ทนายแมน" โดยคุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย เปิดตัวร่วมกับ ทนายความ อภิเชฏฐ์ วงศ์สันติสุข ผู้ร่วมก่อตั้งทนายแมน ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่ทำร่วมกับสำนักงานทนายความ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อหาทนายความและตัวกลางช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ระหว่างผู้จ้างงานและผู้รับงานสำหรับโปรเจกต์ทนายแมนนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากทางสมาคมได้เล็งเห็นถึงปัญหาระหว่างผู้จ้างงานและผู้รับงานที่มีมากมาย หลายครั้งที่จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย สมาคมจึงอยากจะเป็นคนกลางที่ช่วยสามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้เสียเปรียบหรือผู้ที่อาจถูกเอาเปรียบได้โดยบริการหลักของทนายแมน ได้แก่ การติดต่อหาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ,เป็นตัวกลางจ้างงาน, ตรวจสอบสัญญาและให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย, ตรวจสอบเรื่อง พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล, whitelist ของผู้รับจ้างงานในสายโปรแกรมเมอร์ ฯลฯ โดยมีสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยอีกด้วยทางสมาคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า "ทนายแมน" จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เรื่องการจ้างงานของทุกคนได้ โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดและติดต่อหาทนายความได้ที่ https://lawman.in.th/ พร้อมทั้งติดตามความรู้และข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/lawman.in.th/ ซึ่งจะมีการอัปเดตคอนเทนต์ทางด้านกฎหมายที่น่าสนใจ รวมถึงสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาทางด้านกฎหมายก็สามารถติดต่อได้เช่นกัน
โดย: อิศเรศ ประจิตต์มุทิตา
| Digital Skill
วิเคราะห์ภาพรวมสายงาน โปรแกรมเมอร์ ในปัจจุบันจากข้อมูลจริงกว่า 2400 คน!!
ปัจจุบันเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า สายงาน IT เป็นหนึ่งในสายงานที่เงินเดือนสูงมากกก! บทความนี้เราจะมาขยายความให้ทุกคนได้เห็นและเข้าใจโลก IT ในปัจจุบันมากขึ้นว่า หากเราโฟกัสที่สาขา programming เป็นหลัก เรื่องของตำแหน่ง เงินเดือน และทักษะที่เกี่ยวข้องจะเป็นอย่างไรบ้างนะ จากภาพเราจะเห็นได้ว่า เงินเดือนเริ่มต้นของนักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 3 ปีนั้น ค่อนข้างแตกต่างตามตำแหน่งงานอยู่บ้าง แต่เอ๊!? เราควรเข้าใจก่อนว่าแต่ละตำแหน่งงานมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงมีความเหลื่อมล้ำของเงินเดือนอยู่พอควรเลยทีเดียว Front-end Developer: คนนี้ทำหน้าที่ดูแลส่วนโต้ตอบกับผู้ใช้ทุกอย่างครับ ทั้งข้อความ, ปุ่ม, รูปภาพ และขนาดของ elements เว็บไซต์พอดีกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ไหม อยู่บนโทรศัพท์มือถือแล้วดูแปลกหรือเปล่า Back-end  Developer: คนที่ทำหน้าที่จัดการระบบเบื้องหลังทั้งหมดของแอปพลิเคชัน, สร้าง API สำหรับเป็นตัวกลางในการเข้าไปใช้งานข้อมูลในฐานข้อมูล, เน้นใช้โลจิคออกแบบการทำงานของโปรแกรม, กำหนดทิศทางข้อมูลจะวิ่งจากไหนไปไหน ด้วยวิธีอะไร โครงสร้างเป็นอย่างไร, ระบบความปลอดภัย, ชนิดของฐานข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูล ฯลฯ Full-Stack Developer: เป็นการผสมบทบาทของ Front-End และ Back-End ไว้ในคนๆ เดียวครับ หรือ ในบางครั้งอาจจะรวมถึงการทำในส่วนของ Infrastructure เช่นการจัดการ Server อีกด้วย  Software Developer: นักพัฒนาซอฟต์แวร์ มีหน้าที่ code โปรแกรม แต่เพิ่มการ design, Architecture, UML แต่บางคนอาจเรียกรวมหรือสลับกับ Programmer ก็ได้ ซึ่งในหลายๆบริษัทตำแหน่ง Software Developer อาจจะเป็นตำแหน่งเดียวกับ Full-Stack Developer ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทนั้นๆ  Web Developer: เป็นตำแหน่งที่โฟกัสในส่วนของการพัฒนาเว็บไซต์เป็นหลัก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ขึ้นอยู่กับ job description ของบริษัทนั้นๆ เลย ในบางครั้งอาจจะเป็นตำแหน่งที่ทำในลักษณะของ Front-end เช่นเดียวกับ Front-end Developer ก็ได้ หรือ ในบางครั้งอาจจะหมายถึง Full-Stack Developer ก็ได้เช่นกัน Mobile Developer: คนที่พัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ  ของสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต โดยในตำแหน่งนี้จะแยกอีกว่าเป็นในฝั่งของ IOS หรือ Android ซึ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชันนั้น แต่ละสาขามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งในเรื่องของภาษา และ ความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนา Game Developer: เป็นหนึ่งในนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการพัฒนาเกม กระบวนการออกแบบจึงมีความคล้ายกัน นักพัฒนาเกมจำเป็นต้องมีทักษะทั้งการเป็นโปรแกรมเมอร์ และเป็นดีไซน์เนอร์ ที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเกม แลมีทักษะการทำกราฟิกบ้าง Data engineer: ทำหน้าที่ออกแบบวิธีการจัดเก็บ และเรียกใช้งานข้อมูล มุมมองของข้อมูลของเขา คือ Data flow หรือ Pipeline รวมไปถึงการจัดเก็บและเรียกใช้งานข้อมูล โดยมีโจทย์สำคัญคือการรับมือการข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาในระบบอย่างต่อเนื่อง หรือการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ Data analyst: คนที่ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์แนวโน้ม หรือแก้ปัญหาจากสิ่งที่ผิดแปลกไปจากแนวโน้มเดิม โดยใช้หลัก สถิติ ทั้งนี้การวิเคราะห์ต่างๆ ต้องอาศัยประสบการณ์ และมุมมองที่เฉียบขาด IT support: เป็นตำแหน่งงานสาย IT ที่เน้นการปฏิบัติการเป็นหลัก คอยแก้ไขปัญหาจุกจิกภายในบริษัท สโคปงานจะใกล้เคียงกันบ้าง เช่น ดูแลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน ดูเรื่องกล้อง CCTV ดูแลอินเตร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ ฯลฯ QA or Test Developer: เป็นคนที่รอทดสอบระบบหรือโปรแกรมที่ทีม Developer สร้างมา ว่าระบบหรือโปรแกรมนั้นทำงานถูกต้องตาม Requirement หรือไม่ และเป็น คนหาความผิดพลาดในการทำงานของโปรแกรม ก่อนที่จะส่งงานไปให้ลูกค้า จากกราฟด้านล่าง เป็นการสรุป “ทักษะ” ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งต่างๆ โดยเราโฟกัสที่ Top 6 สายงานของเด็กจบใหม่ที่เงินเดือนสูง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต้องมีสำหรับการทำงานในปีแรกครับ จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ทักษะที่จำเป็นของแต่ละงานจะซ้ำๆ กันอยู่บ้าง แต่ ทักษะที่จำเป็นต้องมี กับ ทักษะที่รู้ไว้ก็จะเป็นประโยชน์ นั้นแตกต่างกัน อย่างภาษา HTML/CSS หรือ SQL เป็นทักษะที่ติด Rank มาในทุกสายงานก็จริง แต่ความสำคัญสำหรับแต่ละสายงานก็ไม่เท่ากัน เช่น HTML/CSS สำหรับ Front-end Developer เป็นทักษะสำคัญที่ต้องมี แต่สำหรับ Data or Business analyst แล้วอาจไม่ได้สำคัญขนาดนั้น แต่ถ้าพอมีความรู้ไว้ก็จะดี (ข้อมูลดังกล่าวเป็นการสรุปจากการทำแบบสอบถาม ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องมีทักษะตามที่ระบุเท่านั้น ถึงจะทำงานตำแหน่งดังกล่าวได้) หากใครกำลังต้องการศึกษาหรืออยากพัฒนาทักษะเพื่อทำงานสายนี้ ผลการสำรวจนี้อาจช่วยเป็น guideline ให้คุณได้นะครับ ไหนๆ บทความนี้ก็มุ่งเน้นให้คนทั้งในและนอกสาย IT ได้อ่านเป็นข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพรวมแล้ว เราจึงทำการวิเคราะห์ในประเด็นสำคัญอีกหนึ่งประเด็นเพิ่มเติมว่า “อะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้คนสาย IT หมดไฟ!!” จากข้อมูลเราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ไม่ว่าประสบการณ์จะมากหรือน้อย ทำงานมาแล้วกี่ปี ปัญหาใหญ่สุดของการหมดไฟคือ “ไม่เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ” แปลว่าหากคุณเป็นผู้ที่มีส่วนการขับเคลื่อนองค์กร เช่น CTO, Team Lead หรือแม้แต่ ถ้าคุณคือผู้ประกอบการ สิ่งหนึ่งที่คุณควรสนใจและให้ความสำคัญกับคนในองค์กรคือ การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ทุกคนย่อมมีความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แตกต่างกันตามความสนใจส่วนบุคคล ซึ่งถ้าว่ากันด้วยภาพรวมนั้น เราได้ทำการวิเคราะห์และสรุปมาดังนี้ คุณจะเห็นได้ทันทีเลยว่า ในแต่ละช่วงอายุจะมีความสนใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่แตกต่างกัน แต่ Top Hit Keyword อย่าง Data science และ Blockchain ซึ่งมาเป็นอันดับหนึ่งและสองในกลุ่มวัยทำงานนั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า เทรนด์ของทั้งสองทักษะกำลังเป็นสิ่งที่ทุกคนสนใจและอยากจะศึกษา แต่ถ้าเรามองที่อันดับสามของแต่ละช่วงอายุ เราจะเริ่มเห็นความแตกต่างแล้วว่ากลุ่มใดสนใจในทักษะไหน ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่มช่วงอายุ 26-30 เริ่มให้ความสนใจที่จะศึกษาทักษะสำคัญอย่าง CI/CD ซึ่งอาจมองได้ว่า ทักษะพื้นฐานอย่าง Database ที่กลุ่มเด็กจบใหม่อย่างช่วงอายุ 21-25 ที่ให้ความสนใจนั้น ในกลุ่มช่วงอายุ 26-30 อาจจะมีความเชี่ยวชาญแล้ว จึงหันไปสนใจในทักษะอื่นๆ แปลว่าหากคุณเป็นคนที่จะผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ของคนในองค์กรนั้น ภาพนี้เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้พัฒนาคนในองค์กรได้อย่างดีเลย แน่นอนว่าวิธีการเรียนรู้ในปัจจุบันมีวิธีที่หลากหลายให้เลือกเต็มไปหมด แต่วิธีไหนล่ะที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากที่สุด?กว่า 51.1 % ของผู้ทำแบบทดสอบทั้งหมด ให้คำตอบเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การเรียนที่ให้ผลดีที่สุดคือ การเรียนผ่านทางคอร์สเรียนออนไลน์ เช่น Youtube, MOOCs (Udemy, Coursera) เป็นต้น  แต่เราก็ยังมีคำถามอยู่ว่า แล้วคอร์สเรียนออนไลน์แบบไหนล่ะ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่สนใจอยากจะเรียนมากที่สุด หากลองเปรียบเทียบระหว่างคอร์สเรียนออนไลน์ในรูปแบบเดียวกันแต่เป็นภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นได้ว่ายังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่พอสมควร อาจเป็นเพราะปัจจัยทางภาษานี้ที่ทำให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดทางการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองอยู่ ซึ่งทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้มองเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้มีแนวคิดในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ประโยชน์ เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จัก MOOCs มากขึ้นทั้งของไทยและต่างประเทศ หรือการส่งเสริมให้มีการแปลความรู้จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อย่างที่กำลังดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์ม Digital Skill นี้ เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมให้คนไทยได้รับประโยชน์จากสื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และนำผลวิเคราะห์ที่ได้นี้มาเป็นข้อมูลในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมต่อไป และสุดท้าย ข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้มาจากแบบสอบถาม https://forms.gle/N9D28PcKb3LQT27x8 โดยได้ทำการเก็บข้อมูลมาตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2562 ถึง 10 กันยายน 2562 ปัจจุบันมีผู้ร่วมทำแบบสอบถามอยู่ที่ 2,392 คน จากทั้งสมาชิกของสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย การช่วยเผยแพร่ของกลุ่มโปรแกรมเมอร์และวิทยากรงาน Code Mania อีกทั้งเราลงทุนกับการโปรโมตผ่านช่องทางออนไลน์ไปกว่า 23,000 บาท โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(DEPA) ซึ่งเรามีความตั้งใจว่าจะเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด (Open Data) ให้ทุกท่านนำไปวิเคราะห์เชิงลึกได้อย่างอิสระ เมื่อมีจำนวนผู้ร่วมทำแบบสอบถามครบ 10,000 คน ยังไงก็ช่วยกันแชร์ได้นะครับ เพื่อข้อมูลที่สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอดให้เป็นประโยชน์ต่อไปได้ ขอบคุณครับ:)อิศเรศ ประจิตต์มุทิตาอุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

พบบทสัมภาษณ์ได้ที่นี่เร็ว ๆ นี้

พบDigital Skill บนสื่อ ได้ที่นี่เร็ว ๆ นี้